เครื่องเป่าทองเหลือง

เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่อง ดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ

เครื่องดนตรี บางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีสากลประเภท เครื่องเป่าทองเหลือง ได้แก่

เครื่องเป่าทองเหลือง ทรัมเป็ต (Trumpet) ทรัมเป็ตเป็นเครื่องเป่าลมทองเหลืองอีกชนิดที่มีความเก่าแก่ เริ่มมีขึ้นในสมัย 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ผู้คนเชื่อว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์หรือไม่ก็บริเวณเอเชียกลาง เนื่องจากมีการขุดค้นพบทรัมเป็ตโบราณที่ทำจากโลหะบรอนซ์และโลหะเงินในสุสานของฟาโรห์ ส่วนที่ประเทศจีนเองก็มีการค้นพบทรัมเป็ตโบราณด้วยเช่นกัน สำหรับรูปทรงนั้นจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกัน

เข้าใจว่าในประเทศจีน ทรัมเป็ตอาจถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อผลทางการทหารหรือใช้ในการส่งสัญญาณระหว่างกองทัพมากกว่าจะเป็นอุปกรณ์ใช้เล่นดนตรีเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะในประเทศจีนยุคชุนชิว ซึ่งมีการทำสงครามเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน การส่งข่าวสารหรือส่งสัญญาณระหว่างกองทหารถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอย่างมาก เหมือนกับคนที่ต้องทำหน้าที่ตีกลองประจำกองทัพเพื่อปลุกขวัญกำลังใจ

การพัฒนารูปร่างของทรัมเป็ตและชนิดของโลหะนั้นเริ่มขึ้นในช่วงท้ายของยุคกลางจนเลยไปยุคเรเนสซองส์ ทำให้ทรัมเป็ตรุ่งเรืองขึ้นมาในฐานะเครื่องดนตรีขึ้นได้ ซึ่งทรัมเป็ตในยุคนี้มีเพียง 1 ขด ไม่มีลูกสูบ ในขณะที่ยุคบาโรกนั้นเรียกได้ว่าเป็น “ยุคทองของทรัมเป็ต” เลยทีเดียว อีกทั้งช่วงนี้ยังมีบทเพลงที่ถูกเขียนขึ้นมาสำหรับ Virtuoso trumpeters โดยเฉพาะด้วย และในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 การเล่นทรัมเป็ตก็แพร่หลายไปทั่วโลก ความหมายดนตรี ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมักจะใช้ทรัมเป็ตที่ออกแบบมาในสมัยยุคบาโรก

ทรัมเป็ตเหมือนกับเครื่องทองเหลืองอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านริมฝีปากที่เม้มบาง มีเสียงเหมือนผึ้งร้องหึ่ง ๆ ออกจากกำพวดทำให้เกิดกระแสอากาศข้างในเครื่อง ผู้เล่นสามารถกำหนดระดับเสียงโดยการเปลี่ยนช่องที่ริมฝีปากและแรงดัน ทรัมเป็ตมีส่วนที่เรียกว่าเมาท์พีซซึ่งมีขอบเป็นวงกลมสะดวกต่อการสั่นสะเทือนเมื่ออยู่ติดกับริมฝีปาก ตรงขอบเป็นรูปถ้วยที่ช่องอากาศเล็กมาก ซึ่งส่วนปลายจะพอดีที่จะใส่เข้าไปกับตัวเครื่อง ทั้งสามส่วนของเมาท์พีซมีผลต่อเสียงและคุณภาพเสียง ความยากง่ายของการเล่น และความสบายของคนเป่า โดยทั่วไปแล้วยิ่งกว้างและลึกเท่าไหร่เสียงที่ได้ก็จะยิ่งทึบมากขึ้นเท่านั้น

คอร์เนต (Cornet) ลักษณะคล้ายกับทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเป็ท คอร์เน็ทนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่า ของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ทเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง

เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) คือ เครื่องเป่าทองเหลือง ท่อลมเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม เฟรนช์ฮอร์น พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์เพื่อใช้บอกสัญญาณต่างๆ เสียงของเฟรนช์ฮอร์น จึงเหมือนกับเสียงที่เกิดจากกการเป่าเขาสัตว์ คุณภาพของเสียงเฟรนช์ฮอร์น โปร่งเบาและมีความนุ่มนวลกังวาน เฟรนช์ฮอร์น ในยุคแรกไม่มีนิ้วกดเล่นเสียงได้จำกัดใช้สำหรับการล่าสัตว์

เฟรนช์ฮอร์นคือเครื่องดนตรีที่ท่อลมเป็นทรงกรวยขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม ซึ่งมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “ฮอร์น” โดยมีต้นกำเนิดมาจากเขาของสัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ ฮอร์นมีความสดใส สง่า

หากทูบาเป็นพี่คนโตเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็จัดเป็นพระเอกในบรรดาเครื่องเป่าลมทองเหลืองก็ว่าได้ นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมาก การบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องที่ยากตามไปด้วย

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน แตรฮอร์นในยุคบาโรกนั้นมีพัฒนาการมาจากแตรฮอร์นที่ใช้ในการล่าสัตว์ที่เรียกว่า ลา คอร์โน ดา คักชา (La Corno da Caccia) ในภาษาอิตาเลียน หรือ ลา กอร์ เดอ แชสส์ (La Cor de Chasse) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแตรที่ใช้สำหรับเป่าไล่สัตว์ที่เป็นเหยื่อให้ตกใจวิ่งหนี จุดประสงค์เดิมคือเพื่อให้เกิดเสียงดัง ๆ เท่านั้น โดยไม่สนใจว่าจะได้เสียงที่ดีหรือไม่ และขนาดของแตรฮอร์นล่าสัตว์ก็จะมีขนาดเส้นรอบวงใหญ่กว่าแตรฮอร์นเพื่อการเล่นดนตรี เพื่อที่จะสามารถนำส่วนโค้งกลมของแตรฮอร์นนั้นคล้องรอบตัวไว้ได้ และไม่ร่วงหล่นในขณะที่ต้องขี่ม้าล่าสัตว์ แต่เมื่อมีการนำแตรฮอร์นเข้ามาใช้ในการแสดงดนตรีเพื่อความบรรเทิงจึงต้องมีการลดขนาดเส้นรอบวงเพื่อให้ไม่เกะกะ และปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้ดียิ่งขึ้น ประวัติดนตรีสากล

ส่วนการที่เราเรียกแตรฮอร์น ว่าเฟรนช์ฮอร์นนั้นก็เนื่องมาจากช่างฝีมือชาวฝรั่งเศสในช่วงราว ปี ค.ศ.1650 ได้ทำการพัฒนาแตรฮอร์นที่ใช้ในการล่าสัตว์มาเป็นแตรฮอร์นเพื่อใช้ในการบรรเลงดนตรีอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงได้รับความนิยมทั่ว ๆ ไป และรู้จักกันในชื่อเฟรนช์ฮอร์นเพื่อเรียกให้แตกต่างจาก La Corno da Caccia (ซึ่งยังคงมีใช้กันอยู่) ในราว ค.ศ. 1750 ช่างฝีมือชาวอังกฤษได้ปรับปรุงเฟรนช์ฮอร์นให้ดีขึ้น และเป็นต้นแบบของเฟรนช์ฮอร์นในปัจจุบัน

เครื่องเป่าลมทองเหลืองนั้นมีประวัติมาอย่างยาวนาน เป็นความคิดความฉลาดของคนสมัยก่อนที่สามารถคิดค้นเครื่องดนตรีต่างๆ ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้รู้จัก ได้ลองฟัง และลองเล่นกัน จนมาสมัยนี้ที่เครื่องเป่าลมทองเหลืองก้ได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างตลอด ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีสากลอีกประเภทที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กับประเภทอื่นๆเลย

ยูโฟเนียม (Euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน

ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “พีเดิล โทน” (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง

ทูบาอาจจะเรียกได้ว่าเป็นพี่คนโตในประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรีที่บางคนอาจจะเคยเห็นในวงโยธวาทิตมาบ้าง และเป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่มากจนต้องอุ้มไว้ในอ้อมแขนเพื่อจะได้เป่าได้ ปัจจุบันถูกใช้ในวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตราและวงโยธวาทิต นอกจากนี้ก็ยังถูกใช้ในวงดนตรีประเภทอื่น ๆ อีก เช่น แตรวง ดนตรีแจ๊ซ หรือแม้แต่วงดนตรีลูกทุ่ง ประเภทเครื่องดนตรีสากล

ต้นกำเนิดของทูบาเกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันในศตวรรษที่ 19 โดย Wilhelm Friedrich Wieprecht ผู้เป็นนักดนตรีและผู้อำนวยเพลง เขามีความต้องการให้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองที่มีเสียงต่ำทำหน้าที่เล่นแนวเบสให้กับกลุ่มเครื่องทองเหลือง จึงได้ร่วมมือกับช่างทำเครื่องดนตรีชื่อ Johann Gottfried Moritz เพื่อให้ออกแบบเครื่องดนตรีชนิดใหม่ขึ้นให้มีระดับเสียงต่ำตามที่ต้องการ และได้จดสิทธิบัตรเครื่องเป่าลมทองเหลืองชนิดใหม่นี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1835 โดยทั้งคู่เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า “ทูบา” ซึ่งมาจากคำว่า tube ที่แปลว่า “ท่อ” นั่นเอง

หลังจากประดิษฐ์ทูบาขึ้นแล้วWilhelm Friedrich Wieprecht ก็ได้นำทูบาเข้ามาใช้ในวงดนตรีของเขา ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้นี้ก็ได้รับความสนใจในทันที เนื่องจากคุณภาพเสียงที่ดีกว่าเครื่องทองเหลืองแนวเบสที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ รวมถึงการติดวาล์วลูกสูบที่ทำให้สามารถเปลี่ยนระดับเสียงได้ ทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นแนวทำนองที่มีระดับเสียงต่าง ๆ กันได้

หน้าที่หลักของทูบาคือการเล่นเสียงประสานในระดับต่ำสุดของวงดุริยางค์ ปกติแล้วในวงจะมีผู้เล่นทูบา 1-2 คน เนื่องจากทูบามีขนาดใหญ่ทำให้ท่อลมยาวมาก การเล่นทูบาจะต้องใช้แรงมากในการเป่าลมเข้าไปในเครื่อง ดังนั้นจึงมักจะมีช่วงหยุดเพื่อให้ผู้เล่นพักหายใจบ้าง นอกจากการเล่นเสียงประสานแล้วก็ยังมีนักดนตรีบางรายแต่งเพลงให้มีบางช่วงสำหรับให้ผู้เล่นทูบาได้อวดฝีมือการเล่นเช่นเดียวกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น ชื่อซูซ่าโฟน ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา เครื่องเป่าทองเหลือง